วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การหักเห (refraction)

การหักเห เกิดขึ้นเมื่อคลื่นเคลื่อนที่ผ่านแนวรอยต่อระหว่างสองตัวกลางเช่น คลื่นน้ำเคลื่อนที่จากบริเวณน้ำตื้นไปสู่น้ำลึกโดยตกกระทบทำมุมเฉียงกับแนวรอยต่อระหว่างตัวกลาง จะทำให้เกิดการเบี่ยงเบนทิศทางการเคลื่อนที่ การหักเหนี้เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงอัตราเร็วคลื่นเมื่อคลื่นเปลี่ยนตัวกลางเนื่องจากบริเวณน้ำตื้นและน้ำลึกนั้นทำตัวเสมือนเป็นคนละตัวกลาง ทำให้คลื่นมีอัตราเร็วต่างกันและยังทำให้ความยาวคลื่นเปลี่ยนไปด้วย แต่ความถี่ยังคงเท่าเดิม



รูปแสดงการหักเหเมื่อคลื่นเดินทางจากน้ำลึกไปสู่น้ำตื้น
ที่มา : http://kruweerajit1.blogspot.com/p/blog-page.html

จากกฎของสเนล เขียนเป็นสมการได้ว่า


                                                                          เมื่อ   θ1  คือ มุมตกกระทบในตัวกลาง 1
                                                                                   θ2  คือ มุมหักเหในตัวกลาง 2
                                                                                   v1  คือ อัตราเร็วของคลื่นตกกระทบในตัวกลาง 1
                                                                                   v2  คือ อัตราเร็วของคลื่นหักเหในตัวกลาง 2
                                                                                   λ1  คือ ความยาวคลื่นตกกระทบในตัวกลาง 1
                                                                                   λ2  คือ ความยาวคลื่นหักเหในตัวกลาง 2

ในกรณีของคลื่นน้ำ อัตราเร็วของคลื่นจะขึ้นอยู่กับความลึก คือ 

        เมื่อ  v = อัตราเร็วคลื่นผิวน้ำ
                          g = ความเร่งโน้มถ่วงของโลก
          h = ความลึกของน้ำ

ความสัมพันธ์ในเชิงแปรผันของปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการหักเหคือ



การพิจารณามุมตกกระทบและมุมหักเห พิจารณาได้ 2 แบบ คือ

1.ถ้าใช้รังสีตกกระทบและรังสีหักเหเป็นหลัก ให้ดูมุมที่อยู่ระหว่างเส้นรังสีกับเส้นปกติ

2.ถ้าใช้หน้าคลื่นเป็นหลัก ให้ดูมุมที่อยู่ระหว่างหน้าคลื่นกับเส้นเขตรอยต่อตัวกลาง


ที่มา : http://kruweerajit1.blogspot.com/p/blog-page.html


มุมวิกฤตและการสะท้อนกลับหมดของคลื่น
ในกรณีที่คลื่นเคลื่อนที่จากตัวกลางที่  
 - มีอัตราเร็วต่ำ ผ่านรอยต่อไปยังตัวกลางที่มีอัตราเร็วสูง  
มีความยาวคลื่นน้อย ผ่านรอยต่อไปยังตัวกลางที่มีความยาวคลื่นมาก
- ถ้าเป็นคลื่นผิวน้ำ คลื่นจากน้ำตื้นผ่านรอยต่อไปยังน้ำลึก
ทำให้มุมตกกระทบมีค่าน้อยกว่ามุมหักเห กรณีนี้อาจทำให้เกิดมุมวิกฤต หรือเกิดการสะท้อนกลับหมดได้

ที่มา : http://kruweerajit1.blogspot.com/p/blog-page.html


มุมวิกฤต( Ѳc )  คือ มุมตกกระทบที่ทำให้มุมหักเหเป็น 90 องศา ในการคำนวณมุมวิกฤต เขียนเป็นสมการได้ว่า 



การสะท้อนกลับหมด คือ การหักเหที่มุมตกกระทบโตกว่ามุมวิกฤต ทำให้คลื่นเคลื่อนที่กลับในตัวกลางเดิมและเป็นไปตามกฎการสะท้อน


ที่มา : http://kruweerajit1.blogspot.com/p/blog-page.html
                                       




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น